สาเหตุที่ 1 เพราะเส้นเอ็นแข็งตึง
เนื่องจากตับอ่อนแอลง บริโภคน้ำมันที่ดีน้อยเกินไป น้ำมันที่ดีในร่างกายและเส้นเอ็นลดลงมาก มีการอักเสบเกิดขึ้นได้ง่ายตามข้อต่อและเส้นเอ็น จากการนอนดึกเป็นเวลานาน ทานอาหารหวานหรือของทอดเป็นประจำ ทำให้ตับต้องทำงานหนัก
อาการข้างเคียง
- ปวดเจ็บเส้นเท้า โดยเฉพาะเวลาตื่นนอน
- นอกจากเจ็บส้นเท้าแล้วก็ยังเจ็บเส้นเอ็นส่วนอื่น ๆ เช่นกัน
- นิ้วแข็งนิ้วล็อคได้ง่าย
- ผิวหนังแห้ง ผมแห้งขาดน้ำมัน มักจะมีอาการคันและตุ่มแดงขึ้น
- ตาขาวเป็นสีขุ่น ผิวค่อนข้างเหลือง
- ชีพจรแข็งตึง
- เจ็บตึงเอ็นร้อยหวาย
การแก้ไข
- นวดเบาๆด้วยยาหม่องไพล, น้ำมันหอมระเหย, น้ำมันงา เพื่อให้ซึมเข้าสู่เส้นเอ็น
- พยายามไม่นอนดึกเกินไป หากต้องทำงานเวลากลางคืน ให้นอนพักผ่อนชดเชยให้เพียงพอ
- ลดการทานอาหารที่มีน้ำตาลมากๆ และ ลดการทานของทอด เพื่อลดภาระการทำงานของตับ
- ลดความเครียด แบ่งเวลาในการทำงานและทำกิจกรรมอื่นๆให้ชัดเจน
- ยังไม่ควรออกกำลังกายหนักๆเกินไป เพราะเส้นเอ็นยังอักเสบได้ง่าย
สมุนไพร และอาหาร
น้ำมันที่ดีช่วยลดการอักเสบ – มะพร้าว, งา, มะกอก, เมล็ดชา, น้ำมันรำข้าว (เม็ด)
ผลไม้รสเปรี้ยวช่วยละลายไขมันส่วนเกิน – มะนาว, มะกรูด, มะขาม, แอปเปิ้ลเขียว
สมุนไพรช่วยดูแลตับ – ขมิ้นชัน, กระเทียม, เจียวกู้หลาน, หัวเต่าเกียด, ลูกใต้ใบ
สมุนไพรที่แนะนำ
1. ขมิ้นชัน ก่อนหรือหลังอาหาร 15 นาที ครั้งละ 2 แคปซูล ลดการอักเสบของร่างกายและตับ
2. น้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ ตอนตื่นนอน ช่วยเพิ่มน้ำมันที่ดีและช่วยขับถ่าย
สาเหตุที่ 2 น้ำในร่างกายน้อยลง
เมื่อร่างกายขาดน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดแข็งตึงได้ง่าย ส่งสัญญาณไปที่เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะและไต ซึ่งพาดผ่านด้านหลังขา น่อง ไปจนถึงส้นเท้า มีผลให้ตึงบริเวณด้านหลังขาลามไปจนถึงเจ็บส้นเท้าได้ง่าย(รองช้ำ) บางท่านอาจจะเกิดจากร่างกายไม่อุ้มน้ำ(ธาตุดินน้อย) หรือไตอ่อนแอจากอายุที่มากขึ้นหรือบริโภคน้ำไม่ถูกวิธี
อาการข้างเคียง
- ผิวแห้งตาแห้ง
- เลือดข้นหนืดมือชา เท้าชาได้ง่าย
- ริมฝีปากแห้งแตก ส้นเท้าแตกเพราะขาดน้ำ
- ปัสสาวะบ่อย
- กล้ามเนื้อน้อยลง
- ขี้หนาวได้ง่าย
- มีลมในร่างกายเพราะระบบย่อยอาหารทำงานลดลง
- ชีพจรหนืด
- เจ็บตึงเอ็นร้อยหวาย
การแก้ไข
- ทานน้ำเปล่าไม่เย็นให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน ลดการทานน้ำเย็น น้ำอัดลม ชาเย็น น้ำแข็ง
- ทานอาหารเช้าทุกวันให้หลากหลายส่งเสริมการย่อยอาหาร
สมุนไพร
สมุนไพรช่วยบำรุงไตและเพิ่มน้ำในเลือด – กระชาย, โสม, มะขามป้อม, สมอ, ตรีผลา
สมุนไพรช่วยเพิ่มธาตุดินสะสมน้ำเข้าร่างกาย – น้ำขิง, ช้าพลู, ธัญพืชต่างๆ, ฟักทอง, มันเทศ
ขับเมือกมันลำไส้ – ธรณีสัณฑะฆาต, เมล็ดเชีย, Psyllium Husk
สมุนไพร ที่แนะนำ
1. ธรณีสัณฑะฆาต 2-3 เม็ด ก่อนนอน ช่วยขับเมือกมันในลำไส้
2. ธัญญาหารล้างพิษ (Psyllium Husk) 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 ถ้วย ก่อนอาหาร มื้อเช้า หรือ มื้อเย็นก็ได้ 30 นาที เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ช่วยให้ดูดซึมน้ำได้ง่ายขึ้น
ข้อมูลดีมีประโยชน์มากค่ะ ดิฉันมีอาการแบบนี้จะลองปฏิบัติตามค่ะ