น้ำดี (พัทธปิตตะ) พิการ

น้ำดี (พัทธะปิตตะ) พิการ
อาการ – ท้องอืด ขับถ่ายไม่เป็นก้อน ตัวเหลือง นิ่วในถุงน้ำดี อ่อนเพลีย

เกิดจาก – นอนดึก ทานอาหารดึก ทานไขมันมาก ดื่มน้ำน้อย ทานเหล้าเบียร์ไวน์มาก

การแก้ไข
1. นอนให้เร็วขึ้น เพื่อให้ตับได้ผลิตน้ำย่อย น้ำดี
2. ไม่ควรทานอาหารดึก เพราะ ตับจะทำงานหนัก
3. ลดอาหารไขมันสูง เช่น ชานม เนื้อสัตว์ติดมัน บุฟเฟ่ต์
4. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อลดความร้อนภายใน
5. ทานอาหารที่มีรสขม เช่น มะระขี้นก เพกา สะเดา บอระเพ็ด ลูกใต้ใบ ผักเชียงดา สลับกันไป
หากมีอาการตัวเย็น ให้ลดการทานลง
6. ทานอาหารรสจืด เช่น ตำลึง, ฟักเขียว, รางจืด, หญ้าปักกิ่ง สลับกันไป

การดูแลตับ

การดูแลตับ

หน้าที่หลัก 5 ประการของตับ

  1. เป็นโรงงานแปรรูป – คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน, วิตามิน เมื่อถูกดูดซึมจากลำไส้ผ่านหลอดเลือดดำแล้วเข้าสู่ตับ ตับจะแปรรูปให้เหมาะสมส่งเป็นสารอาหารไปพร้อมกับเลือดให้กับร่างกาย
  2. เป็นคลังเสบียง – ตับเก็บพลังงานในรูปของไกลโคเจนเตรียมพร้อมให้ร่างกายใช้อยู่เสมอเมื่อร่างกายต้องการ(แต่มีจำนวนจำกัด)
  3. เป็นผู้สร้างโปรตีนอัลบูมิน – 60% ของโปรตีนในกระแสเลือดคือ โปรตีนอัลบูมิน(Albumin) มีหน้าที่ดึงน้ำกลับเข้าสู่กระแสโลหิต ขนส่งฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย ผู้ที่มี “อัลบูมิน” น้อยลงอาจเป็นสัญญานเตือนว่าเป็นโรคตับแข็ง หรือ ไตอ่อนแอลงมากจนโปรตีนรั่วออกมา
  4. เป็นผู้ผลิตน้ำดี – เอาไว้สำหรับย่อยสลายไขมันให้โมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมผ่านเข้าทางหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง
  5. เป็นผู้ขับของเสียและสารพิษ – เช่น สารเคมีในอาหาร การทานยา อาหารเสริม หรือ สมุนไพรที่มากเกินพอดี
Continue reading “การดูแลตับ”