การดูแลตับ

หน้าที่หลัก 5 ประการของตับ

  1. เป็นโรงงานแปรรูป – คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน, วิตามิน เมื่อถูกดูดซึมจากลำไส้ผ่านหลอดเลือดดำแล้วเข้าสู่ตับ ตับจะแปรรูปให้เหมาะสมส่งเป็นสารอาหารไปพร้อมกับเลือดให้กับร่างกาย
  2. เป็นคลังเสบียง – ตับเก็บพลังงานในรูปของไกลโคเจนเตรียมพร้อมให้ร่างกายใช้อยู่เสมอเมื่อร่างกายต้องการ(แต่มีจำนวนจำกัด)
  3. เป็นผู้สร้างโปรตีนอัลบูมิน – 60% ของโปรตีนในกระแสเลือดคือ โปรตีนอัลบูมิน(Albumin) มีหน้าที่ดึงน้ำกลับเข้าสู่กระแสโลหิต ขนส่งฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย ผู้ที่มี “อัลบูมิน” น้อยลงอาจเป็นสัญญานเตือนว่าเป็นโรคตับแข็ง หรือ ไตอ่อนแอลงมากจนโปรตีนรั่วออกมา
  4. เป็นผู้ผลิตน้ำดี – เอาไว้สำหรับย่อยสลายไขมันให้โมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมผ่านเข้าทางหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง
  5. เป็นผู้ขับของเสียและสารพิษ – เช่น สารเคมีในอาหาร การทานยา อาหารเสริม หรือ สมุนไพรที่มากเกินพอดี

สัญญาณที่ไม่ดีเมื่อตับมีปัญหา

ตา เป็นประตูของตับ – เช่น วุ้นในตาเสื่อม มองไม่เห็นเวลากลางคืน

มดลูก รังไข่ เกิดปัญหา – เช่นการขับประจำเดือน การปวดท้องประจำเดือน เจ็บตามแนวขาหนีบ

มีอาการคันตามร่างกาย – เพราะตับขับสารพิษได้น้อยลง จึงต้องขับทางผิวหนังมากขึ้น ทำให้ผิวพรรณไม่ผ่องใส

อ่อนเพลียอย่างมาก – เพราะสร้างสารอาหารได้น้อยลง

นอนหลับได้ยาก – เพราะเมื่อตับร้อน ร่างกายภายในจะร้อนขึ้น จนทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ลำบาก

เส้นเอ็นแข็งตึง – ปวดตึงตามข้อต่อร่างกาย เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า หัวเข่า ฝ่าเท้า

ทฤษฎีปัญจธาตุ การแพทย์แผนจีน

โรคเกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่ตับ

ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง

ต้นเหตุเพราะย่อยสลายไขมันไม่ได้ และ อวัยวะภายในมีกำลังน้อยลง


นิ่วในถุงน้ำดี

มีอาการ

  • คลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง
  • หลังทานอาหารไขมันสูงจะมีอาการเสียดท้องด้านขวา
  • ปวดชายโครงขวาเป็นเวลานานๆ

เกิดจาก

  1. มีไขมัน(คอเลสเตอรอล)มากเกินไป ตกตะกอนเป็นก้อนในถุงน้ำดี
  2. มีสารบิลิรูบินมากเกินไป (ถุงน้ำดีเกิดปัญหา)

ไขมันพอกตับ ตับแข็ง

มีอาการ

  • อ้วนง่าย
  • เหนื่อยง่าย
  • โดยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ

เกิดจาก

  1. ทานแอลกอฮอล์ติดต่อกันนาน
  2. โรคอ้วน โรคเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  3. การใช้ยามากเกินไป เช่น สเตียรอยด์
  4. มีการอักเสบภายในตับ และสร้างพังผืดภายในมากขึ้นจนตับแข็ง

การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของโรคตับ

  1. ลดการทานแอลกอฮอล์ ลง
  2. ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป
  4. ลดการใช้อารมณ์ที่มากเกินพอดี โดย เฉพาะอารมณ์โกรธ
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา
  6. ช่วงค่ำไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป
  7. ลดการทานอาหารที่มีสารเคมีสูง

สมุนไพรที่ช่วยทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น

Vinegar Cider (น้ำส้มสายชูหมักจากธรรมชาติ) – เช่น Coconut Cider, Apple Cider ช่วยกระตุ้นย่อยสลายอาหารให้กลายเป็นสารอาหาร ลดภาระการทำงานของตับลง

สมุนไพรรสเปรี้ยว ช่วยย่อยสลายไขมัน – มะขามป้อม, สมอ, มะขาม, มะดัน, มะกรูด, ใบชะมวง

สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมตับ – ขมิ้นชัน, กระเทียม, ลูกหม่อน, หมากเม่า, เก๋ากี้, ชาเขียว, มันเทศ, ผักใบเขียว, ตรีผลา

สมุนไพรรสขมบำรุงตับ – มะระขี้นก, สะเดา, ขี้เหล็ก


ภาพจาก สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย

มะเร็งตับ

ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีอาการที่เห็นชัด แต่มีสัญญาณเบื้องต้นคือ

  • อ่อนเพลีย จุกแน่น ความอยากอาหารลดลง
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • ปวดร้าวที่ชายโครง ปวดบริเวณไหล่ขวา
  • ตาเหลืองท้องโต บวมที่ขาทั้งสองข้าง
  • มีอาการคัน ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • เป็นไวรัสตับบี หรือ ซี จะมีโอกาสเป็นมากขึ้น

มะเร็งตับมีสามลักษณะคือ
มะเร็งที่ตับ, มะเร็งที่ท่อน้ำดี, มะเร็งจากที่อื่นลุกลามมาที่ตับ

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

  1.  หลีกเลี่ยงสารเคมีที่มากจนเกินไป
  2. ควบคุมน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ
  3. ทานอาหารที่ต้านทานการอักเสบอย่างสม่ำเสมอ เช่น กระเจี๊ยบเขียว, มะเขือเทศ, ขมิ้น, ขิง, กระเทียม, ผักติ้ว, ผักเม็ก, สตอ, ใบยอ, ยอดมะม่วงหิมพานต์,ยอดกระโดน, ผลไม้ตระกูลเบอรี่, ฝรั่ง, มะขามป้อม
  4. ออกกำลังกาย ปรับฮอร์โมนร่างกายให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ
  5. แบ่งเวลาทำงาน และ เวลาผ่อนคลายตัวเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *