- ทำไมทานอาหารอย่างดี ทานตรงเวลาแล้ว
ยังเป็นโรคกระเพาะและโรคกรดไหลย้อน - ทำไมทานสมุนไพรที่ช่วยย่อย ช่วยขับถ่ายแล้ว
ก็ยังไม่หายสักที - ทำไมแผลในกระเพาะอาหารไม่หายสักที
- ทำไมเป็นกรดไหลย้อนจึงมีอาการแพนิกร่วมด้วย
- ทำไมเป็นแพนิกแล้วมีปัญหากับระบบย่อยอาหาร
ตัวอย่างอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
- คุณ โฟกัส เป็นคนชอบทำงาน ทำงานได้ทั้งวันทั้งคืน ประสิทธิภาพงานดี แต่เป็นโรคกระเพาะและกรดไหลย้อนบ่อยๆ
- คุณ วินัย เป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงเลือกอาหารในแต่ละมื้ออย่างดีที่สุด หาซื้อยาสมุนไพรอย่างดีแพงเท่าไหร่ไม่ว่า ทั้งค่าหมอค่ายา แต่ก็ยังมีอาการเรื้อรังไม่หายขาดสักที
- คุณ หยิน กลัวน้ำกรดจะออกมามาก จึงทานทั้งยาและสมุนไพรเพื่อลดน้ำกรดให้จงได้ เพราะคิดว่าน้ำกรดเป็นต้นเหตุของระบบย่อยที่ไม่ดี
- คุณ สมทรง รักษาโรคจนงงไปหมด ยาหรือสมุนไพรไหนเขาว่าดีนำมาทานหมด วิตกกังวลไปกับทุกเรื่องราว ทั้งการกิน การถ่าย การนอน สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
ต้นเหตุคือ
อารมณ์ และ ความรู้สึก มีผลกระทบต่อ ระบบย่อยอาหาร
เช่น ความเคร่งเครียด ความจริงจัง ความกลัว และ ความวิตก
ผลกระทบต่ออร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ สามารถอธิบาย
เป็น ระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกายได้ ดังนี้
ระบบสู้หรือหนี(Sympathetic) – จะทำงานเมื่อเรารู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกเครียด รู้สึกกังวลมากกว่าปกติ
ระบบคลายตัว(Parasympathetic) – จะทำงานเมื่อมีการพักผ่อน ผ่อนคลาย รู้สึกปลอดภัย รู้สึกไว้วางใจ
Sympathetic (สู้หรือหนี) | อวัยวะ | Parasympathetic (คลายตัว) |
ม่านตาขยาย | ตา | ม่านตาหด |
กระตุ้นให้หลั่งน้ำตาออกมามากกว่าปกติ | ต่อมน้ำตา | ควบคุมการหลั่งน้ำตาให้เป็นปกติ |
ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย | ต่อมน้ำลาย | กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย |
เพิ่มอัตราการเต้นและการบีบของหัวใจ | หัวใจ | ชะลออัตราการเต้นของหัวใจ |
กระตุ้นให้ท่อลมฝอยขยายตัวคลายตัว | ปอด | กระตุ้นให้ท่อลมฝอยหดตัว |
ยับยั้งการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย ของกระเพาะอาหาร | กระเพาะอาหาร | กระตุ้นการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย ของกระเพาะอาหาร |
กระตุ้นให้ตับทำงานพื่อเพิ่มปริมาณกลูโคส ในกระแสเลือด | ตับ | กระตุ้นการหลั่งน้ำดี |
กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหลั่งอะดรีนาลิน (Adrenalin หรือ Epinephine) | ต่อมหมวกไต | – |
กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว | กระเพาะปัสสาวะ | กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะหดตัว |
ผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร
เมื่อระบบต่อสู้หรือหนี(Sympathetic) ทำงานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ระบบย่อยอาหาร ระบบกำจัดของเสีย และระบบซ่อมแซมร่างกายทำงานน้อยลง ส่งผลให้อาหารย่อยได้ไม่สมบูรณ์กลายเป็นแก๊ส มีแผลอักเสบที่ไม่ได้ซ่อมแซมจึงไม่หายสักที
ดังบุคคลที่นำมาเป็นตัวอย่างข้างต้น ซึ่งอยู่ในภาวะระบบประสาทสู้หรือหนี(Sympathetic) ค่อนข้างมาก
- คุณโฟกัส เคร่งเครียดกับเรื่องงาน (ต่อสู้กับงานอยู่ตลอด ไม่หาเวลาผ่อนคลายอารมณ์ลง)
- คุณวินัย เลือกอาหารมากจนเกินไป (วิตกกับประเภทอาหาร การทานอาหารจึงไม่สามารถผ่อนคลายคุณวินัยได้)
- คุณหยิน กลัวน้ำกรด วิตกกับน้ำย่อย (ตับ และ กระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยผิดเวลา)
- คุณสมทรง กลัวไปหมดจนสติไม่อยู่กับตัว (รู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา)
—————————
ผลกระทบต่อความคิด
ระบบสู้หรือหนี(Sympathetic)
จะทำให้ความคิดไปในเชิงลบเสียมาก ทำให้เป็นคนคิดมากกว่าปกติ
เช่น กรณีที่อยู่ในภาวะไม่ปลอดภัย (เงินไม่พอ, อาหารไม่พอ,
สุขภาพไม่ดีพอ) ฟุ้งซ่านได้ง่ายจนอาจเกิดอาการแพนิค
มีฮอร์โมนอดรีนาลีน และ ฮอร์โมนคอร์ติซอล
ออกมามากทำให้จิตใจไม่สงบ
ข้อดีของ ระบบประสาทอัตโนมัติสู้หรือหนี แบบพอดี
ทำให้มีสมาธิ กระปรี้กระเปร่า สมองแล่น
รู้สึกต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่
ระบบคลายตัว(Parasympathetic)
ทำให้มีความคิดไปทางเชิงบวก มีความรัก รู้สึกไว้ใจ ให้อภัยและเมตตา
เช่น เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือ ครอบครัว จะมีสารสื่อประสาท
เซโรโทนินที่ทำให้รู้สึกสงบหลับได้ง่ายขึ้น
ฮอร์โมนออกซิโทซินที่ทำให้รู้สึกรักและให้อภัย
ข้อเสีย เมื่อยู่ในสภาวะคลายตัวนานเกินไป
กล้ามเนื้ออ่อนแอ ขาดความมุ่งมั่น
ไม่รู้สึกอยากพัฒนาตนเอง
—————————-
การแก้ไขทางพฤติกรรมเพื่อลด ระบบประสาทสู้หรือหนี(Sympathetic)
- ลดการทานน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม ชานม กาแฟใส่น้ำตาลมากๆ เพราะจะกระตุ้นสมองให้ทำงานเร็วเกินไป
- ลดการทานเนื้อสัตว์ เพื่อปรับฮอร์โมนของร่างกาย ช่วยลดธาตุไฟและธาตุลมของร่างกายลง (เมื่อเป็นแพนิคธาตุลมจะรุนแรง)
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 15-20 นาที ลดการใช้สมองลง
- นวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อปรับสารสื่อประสาทและฮอร์โมน ให้เข้าสู่สภาวะผ่อนคลาย
- คุยกับเพื่อนๆและคนรอบข้างให้มากขึ้น ช่วยปรับจิตใต้สำนึกให้ลดความวิตกกังวลลงได้ (เพิ่มฮอร์โมนแห่งความรักที่เรียกว่าออกซิโทซิน)
- เอาถุงประคบ อุ่นๆมาวางไว้ที่ท้องหรือที่เอว ก่อนนอนช่วยให้รู้สึกปลอดภัย
- ดูหนังรัก หรือ หนังตลก ให้สมองผ่อนคลายลงและไม่ควรทานแอลกอฮอล์ถ้าไม่จำเป็น
- นอนให้มากขึ้น เพื่อซ่อมแซมร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ขณะทานอาหารไม่ควรทำกิจกรรมหลายๆอย่าง เพราะอาหารจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
- หายใจอย่างผ่อนคลาย ในระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ
สมุนไพรที่ช่วยลดสภาวะสู้หรือหนี(Sympathetic)
- ทานยาหอม 1/2 ช้อนชา + น้ำ 1/3 ของแก้ว ตอนเช้า และ ก่อนนอนให้สมองผ่อนคลาย หลับได้สบายขึ้น
- ทานสาหร่ายเกลียวทอง 3-5 เม็ด ตอนตื่นนอน ให้ร่างกายมีสารอาหารเพียงพอ ลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด
- ทานสมุนไพรคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น เถาวัลย์เปรียง, เถาโคคลาน, เถาเอ็นอ่อน, ยากษัยต่าง ๆ
หากไม่แก้ไขอาจจะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น
- นอนไม่หลับเรื้อรัง
- ลำไส้แปรปรวน
- โรคทางจิตประสาท
- โรคทางภูมิคุ้มกันทางผิวหนังเช่น เซปเดิร์ม, สะเก็ดเงิน, โรคตุ่มพอง
- ปวดตามข้อต่อ เช่น เก๊าต์, รูมาตอยด์
- ความอักเสบอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิด โรคมะเร็ง
“ช่วยกันทำให้คนป่วยน้อยลง”
บทความโดย หมอนัท ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น
ข้อมูลสุขภาพ : https://nosickhandup.com
สั่งซื้อสมุนไพร : https://cheewaherb.com